ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ภาพรวม
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีทิศทาง และแนวโน้มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในเชิงบวก โดยเมื่อปี ค.ศ. 2017 มี GDP รวม 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนถึงร้อยละ 5.3 และคาดว่า จะขยายตัวต่อไป ร้อยละ 5.1 และ 5.2 ในปี ค.ศ. 2019 และ ค.ศ. 2019 ตามลำดับ แต่มีปัจจัยเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจโลก จึงเน้นการผลักดันความร่วมมือตามแผนงาน AEC Blueprint 2025 ต่อไป เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดช่องว่างการพัฒนา เสริมสร้างความเชื่อมโยง เตรียมความพร้อมต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 และมุ่งสู่การพัฒนา เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งจะมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
องค์กรรายสาขาต่าง ๆ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้จัดทาแผนงานรายสาขารวมทั้งสิ้น 23 แผนงาน เพื่อขับเคลื่อนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้บรรลุเป้าหมายตามแผนงานดังกล่าว
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ นอกภูมิภาค เพื่อให้เป็นส่วนสาคัญของประชาคมโลกตามแผนงานดังกล่าว
สถานะล่าสุด
ประเด็นด้านเศรษฐกิจที่ประธานอาเซียน (สิงคโปร์) ในปี ค.ศ. 2018 ได้ให้ความสำคัญ ได้แก่
ความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (ASEAN Agreement on E-Commerce) อำนวยความสะดวกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน ซึ่งมีการลงนามแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018
กรอบการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน (ASEAN Digital Integration Framework) เพื่อเชื่อมโยงผ่าน ระบบดิจิทัล ซึ่งจะอานวยความสะดวกทางการค้า ความปลอดภัยของข้อมูล และพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านดิจิทัล
เครือข่ายนวัตกรรมในอาเซียน (Establishing the ASEAN Innovation Network) เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ของระบบนิเวศทางนวัตกรรม ผ่านการรวมกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านนวัตกรรมในอาเซียน ซึ่งจะสามารถ ติดตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีล่าสุดในอาเซียนและทั่วโลก และผู้ประกอบการ MSMEs ในอาเซียนจะสามารถ สร้างเครือข่ายในต่างประเทศและขยายโอกาสในการสร้างความร่วมมือ
ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window – ASW) เพื่อแลกเปลี่ยนหนังสือรับรองถิ่นกาเนิดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (e-ATIGA Form D) ซึ่ง ประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ได้ใช้ระบบดังกล่าวแล้ว งแต่เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2018
ระบบรับรองถิ่นกาเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน (ASEAN-Wide Self-Certification – AWSC) เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า โดยผู้ประกอบการของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ขึ้นจดทะเบียนแล้วสามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าได้เอง
กรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services – AFAS) เพื่อเปิดตลาดภาคบริการ ซึ่งมีการลงนามพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันเปิดตลาดบริการชุดที่ 10 แล้ว
ความตกลงการค้าบริการอาเซียน (ASEAN Trade in Services Agreement – ATISA) เพื่อให้มีความตกลงการค้าบริการฉบับใหม่ที่ทันสมัย มีคุณภาพ มาตรฐานสูง ครอบคลุมทุกสาขาบริการ เอื้อต่อการเปิดเสรีการค้าบริการ ในระดับสูงขึ้น
การดำเนินการอื่น ๆ เช่น การเจรจาเพื่อปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement – ACIA) การประกาศถ้อยแถลงอาเซียนว่าด้วยการท่องเที่ยวทางเรือ (ASEAN Declaration on Cruise Tourism) พัฒนาและสร้างความโปร่งใสให้กับการท่องเที่ยวทางเรือ การเสริมสร้างความร่วมมือและการค้าก๊าซธรรมชาติเหลว (Enhancing Liquified Natural Gas Cooperation & Trade in ASEAN) การลงนามบันทึกความเข้าใจกับทบวงพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (MoU between ASEAN and the International Renewable Energy Agency) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนในอาเซียน การพัฒนาหลักเกณฑ์ในการสร้างอาคารสีเขียว และการจัดทำแผนงานเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อการลงทุน และสนับสนุนเงินทุนด้านพลังงาน (Capacity Roadmap for Energy Investments and Financing) เพื่อส่งเสริมการดึงดูดการลงทุนและการสนับสนุนทางการเงินด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในอาเซียน
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับคู่เจรจา
อาเซียนได้จัดทาความตกลงการค้าเสรี 6 ฉบับกับ 5 ประเทศและ 1 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐ เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของจีน และอยู่ระหว่างการเจรจาความตกลง หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership – RCEP) รวมทั้งมี ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับคู่ค้าต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย โดยมีความคืบหน้าการดาเนินการที่สาคัญ ดังนี้
RCEP ที่ประชุมผู้นำ RCEP 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 ที่สิงคโปร์ ได้ประกาศถ้อยแถลงแสดงความมุ่งมั่นให้สรุปการเจรจาในปี ค.ศ. 2019
อาเซียน-จีน อาเซียนและจีนสามารถสรุปผลการเจรจาทบทวนกฎเฉพาะรายสินค้าภายใต้ความตกลง เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งคาดว่าจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2019
อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียนและญี่ปุ่นได้จัดทาพิธีสารฉบับที่ 1 เพื่อผนวกบทการค้าบริการการเคลื่อนย้าย บุคคลธรรมดา และการลงทุนเข้ากับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) ญี่ปุ่นแสดงความพร้อม ที่จะสนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และการเตรียมความพร้อมในการรองรับ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 การพัฒนาอุตสาหกรรมยุคใหม่ การส่งเสริมการใช้ปัญญาประดิษฐ์ และการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ภายใต้ข้อริเริ่ม ASEAN-Japan Fourth Industrial Revolution Initiative
อาเซียนบวกสาม (จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น) อาเซียนและจีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่นได้ให้การรับรอง แผนงานด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกรอบอาเซียนบวกสาม ปี ค.ศ. 2019 – 2020 เพื่อสานต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ลดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน ตลอดจนรับมือกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลก อย่างมีประสิทธิภาพ
อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อาเซียนและออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เห็นชอบข้อเสนอแนะการทบทวน ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน–ออสเตรเลีย–นิวซีแลนด์ (ANNZFTA) ระยะที่ 2 (stage two) เพื่อยกระดับพันธกรณีและการใช้บังคับความตกลงฯ ในข้อบทต่าง ๆ และจะเริ่มจัดทาพิธีสารแก้ไขความตกลงฯ ฉบับที่ 2
อาเซียน-สหรัฐฯ อาเซียนและสหรัฐฯ ได้เห็นชอบให้เพิ่มเติมสาขาความร่วมมือด้านกฎระเบียบ เทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรในแผนงานความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ และอาเซียนจะหารือข้อเสนอของสหรัฐฯ เรื่องความร่วมมือด้านมาตรฐานยานยนต์และระบบชาระเงินอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป
อาเซียน-รัสเซีย อาเซียนและคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Commission) ได้จัดทาบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีสาขาความร่วมมือ เช่น พิธีการศุลกากรและ การอานวยความสะดวกทางการค้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรฐาน การลงทุน การพัฒนา MSMEs เป็นต้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่จะนาไปสู่การขยายเศรษฐกิจการค้า และการลงทุนระหว่างอาเซียนและสหภาพ เศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Union)
ข้อเสนอที่สาคัญ/การดำเนินการของไทย
การอำนวยความสะดวกทางการค้า
ไทยเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เริ่มต้นใช้งานระบบ ASEAN Single Window
ไทยเป็นประเทศเดียวที่ได้เข้าร่วมในโครงการนาร่องการรับรองถิ่นกาเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน ทั้งโครงการที่ 1 และ 2
การค้าบริการ
ไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้ลงนามพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันเปิดตลาดบริการชุดที่ 10 ภายใต้ AFAS แล้ว มีผลให้ไทยเปิดตลาดเพิ่มเติม 6 สาขาย่อย ได้แก่ บริการโทรคมนาคม เช่น บริการแลกเปลี่ยนข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ และบริการขนส่ง
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับคู่เจรจา
ไทยเป็นผู้ประสานงานในการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง และความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน-เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และบรรลุผลสาเร็จ ตามเป้าหมาย โดยมีการลงนามเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017